Wednesday, 29 July 2009

อย. เตือนอย่าเชื่อ “กาแฟลดอ้วน”

อย. เตือนอย่าเชื่อ “กาแฟลดอ้วน”

โดย ปกติ ชา กาแฟ จะมีสารกาเฟอีนเป็นส่วนประกอบ ซึ่งสารตัวนี้จะออกฤทธิ์กระตุ้นหัวใจ และระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้สมองที่เฉื่อยตื่นตัวมากขึ้น สร้างความกระปรี้กระเปร่าช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย โดยขนาดปกติที่ได้รับไม่ควรเกิน 200 มิลลิกรัมต่อวัน เนื่องจากเป็นขนาดที่แสดงฤทธิ์ทางยา ซึ่งหากรับเข้าสู่ร่างกายในปริมาณที่มากเกินไป จะส่งผลเสียให้เกิดอาการบางอย่าง เช่น กระวนกระวาย ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย หงุดหงิดได้

ด้วย เหตุนี้ "กาแฟ" จึงแทบจะกลายเป็นอาหารหลักของผู้บริโภค โดยเฉพาะคนในวัยทำงาน เนื่องด้วยสรรพคุณที่ช่วยให้กระปรี้กระเปร่า หากแต่ก็มีนักโภชนาการหลายท่านที่กล่าวเตือนนักดื่มกาแฟ ให้ระมัดระวังผลข้างเคียงเรื่อง "ความอ้วน" เพราะน้ำตาล และครีมเทียม

แถม บางครั้งยังพ่วงท้ายด้วย นมข้นหวานเสร้างรสชาติเข้มข้น หวานมัน เหล่านี้เป็นตัวต้นเหตุของวายร้ายที่มีชื่อว่า "ความอ้วน" เข้ามาสร้างความหวาดหวั่น ให้กับผู้ดื่มกาแฟเป็นจำนวนมาก จึงเป็นสาเหตุให้ ผู้ประกอบการหัวใส ต่างงัดกลยุทธ์โน้มน้าวใจ อวดอ้างสรรพคุณ ว่าสามารถกำจัดจุดอ่อนในข้อนี้ได้ทำให้เกิดกระแสนิยมบริโภค "กาแฟลดความอ้วน"

สรรพคุณ "กาแฟลดความอ้วน" เชื่อได้หรือไม่

นพ. พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยาอ (อย.) กล่าวว่าการโฆษณา "กาแฟกินแล้วผอม" ดังกล่าวถือเป็นการกล่าวอ้างเกินจริง ซึ่งตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 มาตรา 40 ห้ามมิให้ผู้ใด โฆษณาคุณประโยชน์คุณภาพ หรือสรรพคุณของอาหารอันเป็นเท็จ หรือเป็นการหลอกลวงให้เกิดความหลงเชื่อโดยไม่สมควร

เนื่อง จากกาแฟจัดเป็น "อาหาร" ไม่ใช่ "ยา" จึงไม่มีสรรพคุณการบำบัดความอ้วนได้การโฆษณากล่าวอ้างดังกล่าวจึงถือเป็นการ ลวงให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดในสรรพคุณอาหาร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จึงขอเตือนให้ผู้บริโภคระมัดระวังผลิตภัณฑ์อาหารที่มีการกล่าวอ้างในทำนอง นี้

เนื่อง จากที่ผ่านมา อย. ตรวจพบว่า มีผู้ประกอบการบางรายลักลอบใส่สาร "ไซบูทรามีน" ซึ่งเป็นยาลดความอ้วนลงไปในอาหาร ซึ่งยานี้เป็นยาควบคุมพิเศษต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์และขายได้เฉพาะในสถานพยาบาล เท่านั้นจึงอาจมีอันตรายต่อผู้บริโภค โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมองตีบ โรคตับ โรคไต หญิงตั้งครรภ์ และให้นมบุตร

ถึง แม้กาแฟจะมีส่วนต่อระบบการเผาผลาญของร่างกาย แต่หากดื่มเป็นปริมาณมากโดยคาดหวังให้ ผอม รูปร่าง อาจเกิดอันตรายได้ เพราะจะทำให้หัวใจเต้นผิดปกติ ทั้งยังไม่มีรายงานหรือผลการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่น่าเชื่อถือสนับ สนุนว่าการบริโภคกาแฟสามารถควบคุมน้ำหนักได้

อวดอ้างว่าลดความอ้วน ผู้บริโภคอย่าหลงเชื่อ

นอก จากเรื่อง "ลดความอ้วน" คงเคยได้ยินสรรพคุณขั้นเทพ ที่หยิบยกกันมากกว่านั้น โดยเฉพาะผสมสารสกัดสรรพคุณความงาม อาทิ ไฟเบอร์ คอลลาเจน แอลคาร์นิทีน โครเมียม ฯลฯ ที่ต่างหยิบมาอวดอ้างสรรพคุณสร้างความน่าเชื่อถือไว้มากมาย ให้ผู้บริโภคยอมควักกระเป๋าจ่าย แม้ราคาจะสูงกว่ากาแฟทั่วไปมากก็ตาม

ใน ส่วนนี้จากการตรวจสอบของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) พบว่า สารสกัดต่างๆ เหล่านั้นเป็นส่วนผสมเพียงเล็กน้อยและไม่มีข้อมูลทางวิชาการยืนยันว่ากาแฟ ที่ผสมส่วนผสมต่างๆ เช่น ไฟเบอร์ คอลลาเจน ทำให้ผู้บริโภคน้ำหนัดลดลงได้ มีผิวสวย หรือเพิ่มความงามแต่อย่างใด จึงไม่อาจกล่าวอ้างเช่นนั้นได้

หุ่นดีได้ ด้วยตัวเรา เห็นผล 100%

ออก กำลังกายสม่ำเสมอย่างน้อยอาทิตย์ละ 3 วัน วันละ 20 - 30 นาที และหยุดตามใจปาก จนเป็นเรื่องคงจะเป็นตัวช่วยที่ดีที่สุด การหวังพึ่งพาผลิตภัณฑ์ต่างๆ ไม่ใช่การแก้ไขที่ต้นเหตุปัญหาถึงแม้จะรับประทานผลิตภัณฑ์ที่อวดอ้างสรรพคุณ ลดความอ้วนต่างๆ เข้าไป แต่ไม่ระวังในการรับประทานอาการและไม่พยายามเปลี่ยนแปลงนิสัยการบริโภคโอกาส ที่รูปร่างจะกลับมาเหมือนเก่าอีกย่อมแน่นอน

สำหรับ ผู้ต้องการมีรูปร่างดี ผอม เพรียว อย่างมีสุขภาพอย่าลืมรับประทานอาหารหลากหลายให้ครบ 5 หมู่ รับประทานให้ครบในปริมาณพอเหมาะรับรองช่วยได้ เพราะสิ่งสำคัญที่เราไม่ควรลืมเลือน ใช่เพียง "ผอม หุ่นดี" แต่ทุกอย่างต้องมีคำว่า "เพื่อสุขภาพที่ดี" พวงท้ายเสมอ

เชื่อ เถอะว่า นอกจากจะเป็นผู้ประสบความสำเร็จได้ชัยชนะพิชิตความอ้วนเด็ดขาดแล้วยังช่วย พิชิตโรคภัยไข้เจ็บไม่ให้มากล้ากลาย โดยที่คุณไม่จำเป็นต้องเสียเงินหมดเปลืองไปกับสินค้าตัวช่วยที่ไม่สามารถรู้ ได้เลยว่า "ช่วยได้จริงหรือไม่"

หาก พบเห็นโฆษณาที่หลอกลวงผู้บริโภคสามารถติดต่อแจ้งเบาะแสได้ที่ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา โทร. 02 590 7354-55 หรือ 1556 และสามารถตรวจสอบข้อมูลอันเป็นประโยชน์ได้ที่ www.oryor.com

ที่มา: หนังสือพิมพ์ข่าวสด

No comments: