Thursday, 19 November 2009

ดูแลสุขภาพตามศาสตร์แพทย์แผนจีน

บรรดาอาหารสารพัดชนิดที่มีให้หาซื้อกันได้อย่างเสรีนั้นมีคุณประโยชน์แตก ต่างกัน อีกทั้งปริมาณที่กินเข้าไปด้วย นั่นคือไม่มากเกิน ไม่น้อยเกิน แต่ควรกินอยู่ด้วยความพอดี ยึดทางสายกลางเป็นหลัก

เคล็ดลับการดูแลสุขภาพตามศาสตร์แพทย์จีน ว่าด้วยเรื่องอาหารการกิน 10 อย่าง ที่ไม่ควรกินมากเกิน มีดังนี้


1. ไข่เยี่ยวม้าไข่ เยี่ยวม้ามีส่วนประกอบของตะกั่วการกินไข่เยี่ยวม้าปริมาณมากๆ และบ่อยๆอาจเกิดพิษจากสารตะกั่ว นอกจากนั้นยังทำให้การดูดซึมแคลเซียมลดน้อยลงเกิดภาวะขาดแคลเซียม ทำให้กระดูกผุได้


2. ปาท่องโก๋ กระบวน การทำปาท่องโก๋มีการใช้สารส้มเป็นส่วน ประกอบและในสารส้มมีส่วนประกอบของตะกั่วการกินปาท่องโก๋ทุกวันจะทำให้ไตทำ งานหนักในการขับสารตะกั่ว ซึ่งเป็นพิษต่อสมองและเซลล์ประสาท ทำให้เสื่อมเร็วเป็นโรคความจำเสื่อมนอกจากนี้ย้งทำให้คอแห้ง เจ็บคอโดยเฉพาะคนที่ร้อนในง่าย


3. เนื้อย่าง ประเภทต่างๆเนื้อที่ถูกรม ย่างไฟ จะเกิดสารเบนโซไพริน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งชนิดหนึ่ง


4. ผักดองการ กินผักดอง หรือของหมักเกลือนานๆ จะเกิดการสะสมของเกลือโซเดียมทำให้หัวใจทำงานหนัก เกิดโรคความดันเลือดสูงและโรคหัวใจได้ง่ายนอกจากของหมักดองยังมีสารก่อ มะเร็ง แอมโมเนียมไนไตรต์


5. ตับหมู ตับหมู 1 กิโลกรัม มีโคเลสเตอรอลมากกว่า 400 มิลลิกรัมการกินอาหารที่มีโคเลสเตอรอลปริมาณสูงมากๆ นานๆ จะทำ ให้หลอดเลือดแข็งตัวมีความเสี่ยง ต่อโรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดทางสมอง รวมถึงโรคมะเร็งด้วย


6. ผักขม, ผักปวยเล้งผัก ขม, ผักปวยเล้งมีสารอาหารอุดมสมบูรณ์ แต่มีกรดออกซาเลตมากจะทำให้มีการขับสังกะสีและแคลเซียมออกจากร่างกายมากเกิด ภาวะขาดแคลนแคลเซียมและสังกะสี

7. บะหมี่สำเร็จรูปบะหมี่ สำเร็จรูปหลายชนิดมีสารกันบูดสารปรุงแต่งรสที่ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกายการ กินบะหมี่สำเร็จรูปบ่อยๆจะทำให้ขาดสารอาหารและเกิดการสะสมสารพิษในร่างกาย


8. เมล็ดทานตะวัน เมล็ด ทานตะวันมีส่วนประกอบของกรดไขมันไม่อิ่มตัวการกินเมล็ดทานตะวันปริมาณมาก จะทำให้ระบบเมตาบอลิซึมของไขมันผิดปกติทำให้มีการสะสมไขมันที่ตับได้ เป็นอันตรายต่ออวัยวะตับ


9. เต้าหู้หมัก, เต้าหู้ยี้ กระบวนการหมักเต้าหู้ มีโอกาสปนเปื้อนเชื้อโรคได้ง่ายนอกจากนี้ ยังมีสารย่อยสลายโปรตีน ไฮโดรเจนซัลไฟล์ ซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกาย


10. ผงชูรสคน เราไม่ควรกินผงชูรสเกินกว่า 6 กรัมต่อวัน จะทำให้กรดกลูตามิกในเลือดสูงซึ่งมีผลต่อการทำงานของ ประจุแคลเซียมและแมกนีเซียม เกิดอาการปวดศีรษะใจสั่น คลื่นไส้ นอกจากนี้ มีผลเสียต่ออวัยวะสืบพันธุ์ด้วย

ที่กล่าวมาเป็นภูมิปัญญาโบราณ ความเชื่อที่สืบทอดปฏิบัติกันมา ปัจจุบันมีการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาอธิบายมากขึ้น

ที่มา http://www.vcharkarn.com/